111
1119

วัสดุปลูกซ่อมแซมป่าทางอากาศเพื่อการอนุรักษ์เลียนแบบโครงสร้างและสมบัติทางกายภาพของดอกพวงคราม (Petrea volubilis L.)

Conservation forest repair material in the air emulates the structure and physical properties of Purple Wreath flower (Petrea volubilis L.)

แม้ว่าในปัจจุบันมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการซ่อมแซมป่าอย่างหลากหลาย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นที่ป่าลึกส่วนในที่เสื่อมโทรมและไม่ได้รับการซ่อมแซม เนื่องจากปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ป่าซึ่งมีความยากลำบาก คณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดเชื่อมโยงไปสู่การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ในเมืองไทยจึงมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ (Biomimicry) โดยเริ่มจากศึกษาลักษณะการหมุนและร่อนตกลงสู่พื้นของดอกพวงคราม เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะและสมบัติทางกายภาพจากนั้นเลียนแบบโดยการขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ จัดทำเป็นแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปเป็นวัสดุซ่อมแซมป่าโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่สามารถเป็นแหล่งอาหารสำหรับเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า 3 ชนิด โดยวัสดุที่ใช้มีสมบัติย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ขั้นตอนต่อไปคือศึกษาการเจริญเติบโตของพืชและคุณภาพดินที่ใช้วัสดุปลูก การกระจายตัวของวัสดุปลูกในห้องปฏิบัติการ และสร้างแบบจำลอง CFD simulation จากนั้นใช้วัสดุปลูกร่วมกับกล่องปล่อยวัสดุปลูกและเครื่องปล่อยเมล็ดพันธุ์คืออากาศยานบังคับด้วยวิทยุ ตามหลักการ Aerial Reforestation ลงบนพื้นที่ศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลทางสถิตและรายงานผลการวิจัยต่อไป

นางสาว จิตราภรณ์ โดยอาษา

นางสาว ศุภัชญา หนูเล็ก

นาย นพดล แกมเพชร

นาย ศุภกร ไทยมา

Please Rotate Screen

เว็บไซต์นี้ ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่