101
641

ถ้วยรองรับน้ำยางที่สามารถจับตัวน้ำยางได้เอง

Automatically latex-coagulation container (Cup-Graft)

ในปัจจุบันมีครอบครัวมากกว่า 6 ล้านครัวเรือนที่ประกอบอาชีพชาวสวนยาง ซึ่งเป็นพื้นที่มากกว่า 23 ล้านไร่ของประเทศไทย โดยพื้นที่ 9 ล้านไร่นั้น มีการทำยางก้อนถ้วย โดยปกติอนุภาคของยางธรรมชาติจะมีประจุลบล้อมรอบอยู่จึงทำให้เมื่ออนุภาคของยางเข้าใกล้กันจะเกิดการผลักกันและไม่จับตัวกันเป็นก้อน ดังนั้น การทำยางก้อนถ้วยจึงมีการเติมประจุบวกเข้าไปเพื่อทำให้ยางเสียสมดุลและจับตัวกัน โดยสารช่วยในการจับตัวที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ กรดฟอร์มิก กรดซัลฟิวริก และเกลือแคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งกรดที่แนะนำให้ใช้ คือ กรดฟอร์มิก แต่กลับพบว่าเกิดปัญหาในขั้นตอนการเติมสารช่วยจับตัว เนื่องจากชาวสวนยางส่วนใหญ่มีการใช้สารช่วยในการจับตัวที่ไม่เหมาะสม เช่น กรดซัลฟิวริก ทำให้ยางก้อนถ้วยที่ได้มีสมบัติไม่ดี จึงเกิดแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการพัฒนาถ้วยรองรับน้ำยางที่มีอยู่ทั่วไปในปัจจุบันที่จำเป็นต้องเติมกรดให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน โดยถ้วย Cup-graft ที่พัฒนาขึ้นมีการเคลือบประจุบวกไว้ที่บริเวณผิว จึงทำให้เมื่อน้ำยางหยดลงมาสัมผัสกับถ้วย Cup-graft ประจุบวกที่บริเวณผิวของถ้วยจะเข้าไปทำให้น้ำยางสดจับตัว ได้เป็นยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพ

นาย ธนากร รูปสี

นาย อมรศักดิ์ สืบสิน

นาย ณรงค์เดช ดาผา

นางสาว ชไมพร สุริยา

นางสาว สกุลทิพย์ อยู่สอน

Please Rotate Screen

เว็บไซต์นี้ ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่