180
1636

การพัฒนาแผ่นห่ออาหารย่อยสลายได้จากกล้วยหอมผสมสารโพรโพลิสในน้ำผึ้งชันโรงเพื่อถนอมอาหาร

Development of biodegradable food wrap from cavendish bananas mixed with channarong honey propolis for food preservation

กล้วยหอมเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีพอลิแซ็กคาไรด์สามารถนำมาทำเป็นแผ่นห่ออาหาร และสามารถย่อยสลายเองได้ ผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานเรื่องนี้ขึ้น เพื่อศึกษาพืชที่มีพอลิแซ็กคาไรด์สูง 4 ชนิดได้แก่ มันสำปะหลัง กระเทียม หัวไชเท้า และกล้วยหอม นำมาสร้างเป็นแผ่นห่ออาหาร ศึกษาอัตราส่วนปริมาณกล้วยหอม โซเดียมอัลจิเนต น้ำ น้ำผึ้งชันโรง และกลีเซอรีนที่มีผลต่อคุณสมบัติเฉพาะ(ความโปร่งแสง) เปรียบเทียบระยะเวลาการเก็บรักษาอาหารที่ห่อด้วยแผ่นห่ออาหารที่ผสมและไม่ผสมสารโพรโพลิสในน้ำผึ้งชันโรง และศึกษาระยะเวลาการย่อยสลายของแผ่นห่ออาหาร จากการศึกษาพบว่า มันสําปะหลัง หัวไชเท้า กล้วยหอมมีพอลิแซคคาไรด์สูงเนื่องจากสามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นห่ออาหารได้ โดยกล้วยหอมมีความบางและผิวที่เรียบเนียนมากที่สุด สูตรที่ 2 จึงมีความสว่างของแสงมากที่สุด แสดงว่ามีค่าความโปร่งแสงมากที่สุด จากการวัดค่าความโปร่งแสงจากแอปพลิเคชัน LightMeter โดยวัดกับหลอดไฟ LED ขนาด24วัตต์ และแผ่นห่ออาหารที่ผสมสารโพรโพลิสมีระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารได้ดีกว่าแผ่นห่ออาหารที่ไม่ผสมสารโพรโพลิส และสามารถย่อยสลายภายในระยะเวลาน้อยกว่า1เดือน

นางสาว นภัสรพี เหมมณี

นางสาว ญาณินทร์ คงรื่น

นางสาว ณัฐธิดา ดวงแก้ว

Please Rotate Screen

เว็บไซต์นี้ ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่